เผ่าไทยโส้หรือไทยกะโซ่
อาศัยอยู่ในเขต อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
อาศัยอยู่ในเขต อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
ประวัติความเป็นมา ชาวไทยโส้ในพื้นที่จังหวัดนครพนม
เป็นชาวไทยตระกูลเดียวกันกับพวกบรู หรือพวกไทยข่า นักมนุษยวิทยาถือว่าพวกไทยโซ่เป็นชาติพันธุ์ของมนุษย์
ในกลุ่มมองโกเลียด์ มีภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างไปจากพวกไทยข่า
แต่ภาษานั้นถือว่า อยู่ในตะกูลออสโตรอาเซียติดสาขามอญเขมรหรือตะตู
ซึ่งสถาบันวิจัยภาษาฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้รวบรวมไว้บทความเรื่องภาษาตระกูลไทย
พวกกะโซ่ซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3
ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองหลายเมือง คือ เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเซียงฮ่ม
ในแขวงสุวรรณเขต ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช
ขึ้นกับเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ.
2387 โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวบัว
แห่งเมืองเชียงฮ่ม เป็นพระทัยประเทศ
เป็นเจ้าเมืองเป็นคนแรก ปัจจุบันเป็นพื้นที่รามราช
ตำบลพระทาย ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน ตำบลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนมเป็นหมู่บ้านชาวไทยโส้
นอกจากนั้นยังมีชาวไทยโส้อยู่ในท้องที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมอีกหลายหมู่บ้าน เช่น
ตำบลโคกสูง และบ้านวังตามัว
ในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม
ศิลปะ วัฒนธรรมกะโส้ซึ่งรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื่อชาติ
ที่เด่นชัดก็คือโซ่ทั่งบั้ง หรือภาษากะโซ่เรียกว่า
สะลา เป็นพิธีการในการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือเรียกขวัญและรักษาคนป่วย
กับพิธี ซางกระมูด ในงานศพ
1. พิธีกรรม โซ่ทั่งบั้ง เป็นภาษาชาวไทยอีสานเรียกชื่อพิธีกรรมของชาวกะโซ่คำว่าโซ่ หมายถึง พวกกะโซ่ คำว่าทั่ง แปลว่ากระทุ้ง
หรือกระแทก คำว่าบั้ง หมายถึงบ้องหรือกระบอกไม้ไผ่ โซ่ทั่งบั้ง
ก็คือ การใช้กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ 3 ปล้อง
กระทุ้งดินให้เป็นจังหวะและมีผู้ร่ายรำและร้องรำไปตามจังหวะในพิธีกรรมของชาวกระโซ่
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร
เมื่อเสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์ (อำเภอกุสุมาลย์
จังหวัดสกลนคร) เมื่อ พ.ศ. 2449 ได้ทรงบันทึกการแสดงโซ่ ทั่งบั้งหรือสะลาไว้ว่า
สลามีหม้อดินตั้งกลางแล้วมีคนต้นบทคนหนึ่ง คนสะพายหน้าไม้ และลูกสำหรับยิงคนหนึ่ง
คนตีฆ้องเรียกว่าพระเนาะคนหนึ่งคนถือไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุงดิน รวมแปดคน เดินร้องรำเป็นวนเวียนไปมา พอพักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป...
2. พิธีซางกระมูด เป็นพิธีกรรมก่อนนำศพลงจากเรือน
คำว่า ซาง หมายถึง การกระทำหรือการจัดระเบียบ กระมูด แปลว่า ผี ซางกระมูด หมายถึง
การจัดพิธีเกี่ยวกับคนตายชาวกระโซ่ถือว่า เมื่อคนตายไปแล้วจะเป็นผีดิบ
จึงต้องกระทำพิธีซางกระมูดเสียก่อน เพื่อให้ผีดิบและวิญญาณของผู้ตายได้สงบสุข
มิฉะนั้นอาจทำให้ญาติพี่น้องเกิดเจ็บป่วยขึ้นได้
อุปกรณ์ในพิธีซางกระมูดประกอบด้วย ขันโต(ขันกระหย่อง)
สานด้วยไม้ไผ่สองใบ เป็นภาชนะใส่อุปกรณ์ต่างๆ มีไม้ไผ่สานเป็นรูปจักจั่น
4 ตัว แทนวิญญาณของผู้ตาย นอกจากนี้ยังมีพานสำหรับยกครู (คาย) ประกอบด้วยขันธ์ 5
เทียน5 คู่ ดอกไม้สีเขียว เช่น ดอกลั่นทม 5คู่ เงินเหรียญ 12 บาท ไข่ดิบ
1 ฟอง
ดาบโบราณ 1
เล่ม ขันหมาก 1 ขันมีดอกไม้อยู่ในขันหมาก
1 คู่ พร้อมด้วยบุหรี่ และเทียนสำหรับทำพีอีกหนึ่งเล่ม
ล่ามหรือหมอผีจะเป็นผู้กระทำพิธีและสอบถามวิญญาณของผู้ตายได้สงบสุข
เมื่อทราบความต้องการของวิญญาณแล้วญาติก็จะจัดสิ่งของไว้บวงสรวงวิญญาณ
3. พิธีเหยา ในการรักษาคนป่วยหรือเรียกขวัญคล้ายๆ กับพิธีของชาวไทยอีสานทั่วไป
เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยหรือการเรียกขวัญ
โดยหมอผีจะทำหน้าที่เป็นล่ามสอบถามวิญญาณของบรรพบุรุษ
ชาวไทยกะโซ่มีผิวกายที่ดำคล้ำเช่นเดียวกับพวกข่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงการแต่งกายของชาวกะโซ่ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่
ต่างๆ ภาค 4 เมื่อเสด็จภาคอีสานเมื่อ พ.ศ.
2449 ไว้ว่า ....ผู้หญิงไว้ผมสูงแต่งตัวนุ่งซิ่นสวมเสื้อแขนกระบอกย้อมครามห่มผ้าแถบ
ผู้ชายแต่งกายอย่างคนเมือง แต่เดิมนุ่งผ้าเตี่ยวไว้ชายข้างหน้า
ชายหนึ่ง
ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เหยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ
ภาษาที่ใช้ภาษาคือภาษาโส้
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรจังหวัด
นครพนม เมื่อ
พ.ศ. 2498 ซึ่งจังหวัดมุกดาหารยังรวมอยู่ในจังหวัดนครพนม ชาวไทยกะโซ่ ได้แสดงโส้ทั่งบั้งหรือสะลาทอดพระเนตรพร้อมกับร้องคำถวายพระพรเป็นภาษากะโซ่ว่า
เซินตะดกละแสง เซินแต่แซงมะนาง เซินยอนางเอย ดรุ๊กอีตู จูเยก ยางเอย ดรุ๊กอีตูจูเยอวายเอย ไฮพัดกระกมติตอนจิรอ ไฮพัดระพอดิตรอนอิตูด ตะรงยางเอย ระกบเจ้ากวงมานะ
วอนเบาแบนเราะ เนออาญาเฮาเอย สะโอนเนาต๊กยะ วอนเบาแบนเราะ ดูกรองวไดเดอกะนางไฮเอย
เซินตะดกละแสง เซินแต่แซงมะนาง เซินยอนางเอย ดรุ๊กอีตู จูเยก ยางเอย ดรุ๊กอีตูจูเยอวายเอย ไฮพัดกระกมติตอนจิรอ ไฮพัดระพอดิตรอนอิตูด ตะรงยางเอย ระกบเจ้ากวงมานะ
วอนเบาแบนเราะ เนออาญาเฮาเอย สะโอนเนาต๊กยะ วอนเบาแบนเราะ ดูกรองวไดเดอกะนางไฮเอย
คำแปล ขอเชิญสิ่งศักดิ์สิทธ์ขุนเขา
ขอเชิญแสงตะวันอันแรงกล้า เชิญเถิดขอให้สิ่งศักดิ์สิทธ์ จงมาให้ขวัญทั้งหลายจงมาร่วมกัน
ณ ที่นี้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเอย ขอให้มาคุ้มครองสองเจ้าเหนือหัว
ขอให้พระองค์อยู่ดีมีสุขเถิดพระเจ้าเราเอย ขอให้อย่ามีทุกข์และความเดือดร้อน
ขอให้พระองค์อยู่ดีมีสุขอยู่คู่เมืองไทย
ปกป้องคุ้มครองพวกทั้งหลายตลอดไปเทอญ
ตำบลพะทาย |
|
อาณาเขตตำบล : |
|
จำนวนประชากรของตำบล : |
|
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล : |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น